ปวดหลัง นอกจากอาการปวดที่ก่อกวนแล้วนั้น ยังส่งผลเสียอะไรได้อีกบ้าง
เมื่อเราเกิดอาการปวดหลังขึ้น มักจะมีปัญหาร่างกายในบริเวณต่างๆ ตามมา หากอาการปวดทวีความรุนแรงมากขึ้น อาการที่เป็นอยู่ไม่ได้รับการแก้ไขหรือเข้ารับการรักษา ปล่อยไว้นานจะยิ่งส่งผลต่อการใช้ชีวิตประจำวันมากยิ่งขึ้น ไม่ว่าจะทำกิจกรรมอะไรก็จะไม่สามารถใช้ร่างกายได้อย่างเต็มที่ เริ่มต้นจากการปวดหลังแต่ไม่แก้ไขจะส่งผลเสียอย่างที่คาดไม่ถึง ดังต่อไปนี้
1. สุขภาพร่างกายโดยรวมแย่ลง
เนื่องจากเมื่อเกิดอาการปวดแล้วคนเราก็มักขยับตัวน้อยลง อีกทั้งอาการเจ็บปวดส่งผลต่อความเครียดและทางออกที่พบบ่อยคือการทานอาหารที่มีความหวาน คาร์โบไฮเดรตสูง แป้งสูง เพื่อช่วยคลายเครียด ซึ่งอาจช่วยให้หายเครียดในระยะสั้นแต่ส่งผลต่อน้ำหนักตัวที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง จากอาหารที่ทานและการใช้พลังงานน้อยเพราะขยับน้อย และในระยะยาวจะส่งผลต่อโรคในอนาคตกระทบกันเป็นห่วงโซ่ เช่นโรคอ้วน โรคหัวใจ โรคความดันและโรคเบาหวาน
2. ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง
เนื่องจากมีอาการปวดหลัง ก็ไม่อยากจะขยับตัว อยากทำอะไร มีแต่ความเหนื่อยล้า จากความปวดพาลมาสู่เรื่องทำงานไม่สะดวกอยากเปลี่ยนงานใหม่ หางานใหม่ที่อาจจะช่วยให้อาการที่เป็นอยู่ดีขึ้น เช่นงานที่ชั่วโมงการทำงานลดลง หรืองานที่มีสวัสดิการเรื่องอุปกรณ์ทำงานที่ดี มีสวัสดิภาพความเป็นอยู่ของพนักงานที่ดี แต่การหางานใหม่ก็ไม่ใช่เรื่องง่าย และหากไม่มีงานก็จะส่งผลต่อการไม่ได้รับการรักษาอาการปวดหลังอย่างต่อเนื่อง ทำให้อาการปวดไม่หาย หรือในกรณีที่ต้องเข้ารับการผ่าตัด จำเป็นต้องใช้งบประมาณสูง ดังนั้นเป็นไปได้เราควรที่จะดูแลตัวเองให้ห่างไกลจากอาการปวดหลังเป็นการดีที่สุด เริ่มต้นง่ายๆด้วยการยืดเหยียด และใช้งานกล้ามเนื้อหลังอย่างถูกวิธี
3. ความสุขในการทำกิจกรรมกับครอบครัวและเพื่อนๆ ลดลง
เนื่องจากไม่สามารถทำกิจกรรมที่ต้องนั่งนานๆ เช่นดูหนัง เล่นเกมกระดาน เป็นต้น ทำให้ไปไหนมาไหนไม่สะดวกจนสุดท้ายตัดสินใจที่จะไม่ร่วมกิจกรรม ทำให้ความสัมพันธ์กับเพื่อนหรือการเข้าสังคมห่างหายกันไป ความสนิทสนมในครอบครัวก็ลดลง
4.สภาพจิตใจแย่ลง ความสุขหายไป ความปวดหลังเข้ามาแทนที่
เมื่อปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานอาจส่งผลต่อความมั่นใจในตัวเองที่ลดลง บุคลิกภาพที่เปลี่ยนแปลงไป เกิดเป็นความเครียดสะสม จนก่อให้เกิดเป็นโรคซึมเศร้า เลวร้ายที่สุดอาจเกิดการตัดสินใจในชีวิตที่ผิดพลาดได้
ถึงแม้จะเริ่มต้นมาจากอาการปวดหลัง แต่ส่งผลเสียอย่างน่ากังวลทั้งในเรื่องของสุขภาพร่างกาย การทำงาน สังคมใกล้ชิด รวมไปถึงสุขภาพจิต ดังนั้นหากมีอาการปวดหลัง ต้องรีบแก้ไขทันที ไม่ควรปล่อยไว้นานจนเกิดอาการเรื้อรัง โดยให้เริ่มต้นจากการหาสาเหตุของอาการปวดหลังก่อน สังเกตพฤติกรรมของตัวเองในการทำกิจกรรมต่างๆ หากพบสาเหตุแล้วหาวิธีแก้ไขเช่นหลีกเลี่ยงพฤติกรรมเหล่านั้น หรือปรับให้ทำพฤติกรรมเหล่านั้นอย่างถูกวิธี ทางที่ดีที่สุดคือการสืบค้นหาสาเหตุและวิธีแก้ไขกับเหล่าผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพไปพร้อมกัน อาการปวดหลังจะได้รับการแก้ไขที่ต่อเนื่อง เหมาะสม และเห็นผลลัพธ์อย่างรวดเร็ว
ลักษณะอาการที่พบบ่อย พร้อมรู้สาเหตุที่มาที่ไป
ตัวอย่างของอาการที่พบบ่อยซึ่งหนึ่งอาการอาจเป็นอาการที่แสดงออกมาของหลายสภาวะโรคได้ เช่น ปวดหลังร่วมกับชาร้าวลงขา มีอาการอ่อนแรง โรคที่มีอาการคล้ายคลึงกัน ได้แก่ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท กระดูกสันหลังเคลื่อน โพรงกระดูกสันหลังตีบแคบ ลักษณะอาการที่แตกต่างกันไปนั้น ทำให้ทราบถึงสาเหตุที่แตกต่างกัน ดังนั้นหากไม่มั่นใจควรรีบพบแพทย์ทันที
วิธีการรักษาอาการปวดหลัง มีวิธีใดบ้าง
เป้าหมายของการรักษาของวิธีการรักษาต่างๆนั้น สิ่งที่เหมือนกัน ก็คือ การลดหรือบรรเทาอาการเจ็บปวดให้น้อยลงได้ ทำให้สามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ มาดูกันว่ามีวิธีการใดบ้าง
1.การบริหารร่างกาย ซึ่งเป็นวิธีเบื้องต้นที่ช่วยรักษาอาการปวดหลัง การที่ได้รับความรู้ในการทำท่ากายบริหารกล้ามเนื้อเฉพาะจุดได้อย่างถูกต้องนั้นมีความสำคัญต่อการพยุงหลัง ที่สำคัญคือต้องทำท่าอย่างถูกต้องและมีผู้เชี่ยวชาญแนะนำอย่างใกล้ชิด
2. รับประทานยาแก้ปวด หรือยาคลายกล้ามเนื้อ มีทั้งชนิดรับประทานและชนิดยาทาใช้ภายนอก ซึ่งวิธีการนี้ทำให้อาการปวดหายได้ไวขึ้นแต่จะสามารถเห็นผลได้ในระยะสั้น เมื่อประสิทธิภาพของยาหมดลงอาการปวดเหล่านั้นก็อาจแสดงขึ้นมาเช่นเดิม
3. การนอนพักผ่อนในท่าที่ถูกต้อง วิธีการนี้ช่วยลดอาการปวดได้ในบางประเภทเท่านั้น หากอาการปวดหลังนั้นมาจากสาเหตุเดี่ยวดับกระดูกและข้อต่อ หรือความไม่บาลานซ์ของกล้ามเนื้อบริเวณหลัง การนอนพักผ่อนก็ไม่สามารถช่วยลดปวดในระยะยาวได้
4. การฉีดยาสเตียรอยด์ เพื่อบรรเทาอาการปวดและอาการอักเสบ เมื่อฉีดปุ๊บอาการปวดลดลงอย่างรวดเร็ว กลับมาใช้ชีวิตอย่างปกติสุขได้อย่างน่ามหัศจรรย์ แต่การใช้สเตียรอยด์นี้ไม่สามารถใช้อย่างต่อเนื่องได้ มีเงื่อนไขในการใช้ยา อีกทั้งยังอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียง เช่น กล้ามเนื้อบริเวณที่ถูกฉีดไม่แข็งแรง
5. การผ่าตัด ใช้ในกรณีที่เป็นมากๆแล้ว เป็นมานาน ส่งผลต่อความสามรถในการควบคุมร่างกายที่ไม่ปกติ เช่น คนที่ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายได้ หรือบางคนมีอาการแขนขาอ่อนแรงจนเดินไม่ได้ เป็นต้น
ดังนั้น การแก้ไขอาการปวดด้วยการทำท่ากายบริหารที่ถูกต้องถือเป็นวิธีที่เริ่มต้นได้ง่ายที่สุด งบประมาณในการรักษาเมื่อเทียบกับผลลัพธ์ที่ได้นั้นน้อยกว่าช่องทางอื่น ดังนั้นไม่จำเป็นว่าต้องรอให้อาการปวดหลังเป็นหนักเป็นระยะเวลานานแล้วค่อยหาทางออก เริ่มต้นตั้งแต่รู้สึกถึงอาการแปลกๆ ตั้งแต่แรกๆ จะรักษาได้ง่าย พร้อมกับความสุขในการใช้ชีวิตก็ไม่หายไปจากตัวเราด้วย หากไม่มั่นใจในอาการที่เป็นอยู่ สามารถปรึกษาเราได้ ผู้เชี่ยวชาญพร้อมให้คำปรึกษา
ท่ากายบริหารลดอาการปวดหลังที่ทำได้ด้วยตัวเอง
4 ท่าแก้อาการปวดหลัง เลือกท่าได้หลากหลายอิริยาบท ตามสภาพแวดล้อมที่อยู่
ท่าที่ 1:
นั่งขัดสมาธิ โน้มตัวไปด้านหน้า
ระยะเวลาที่แนะนำ:
ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีอาการปวด
บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้ยืดเหยียด ได้แก่
- ขาหนีบ
- หลังส่วนบน
- หลังส่วนล่าง
ท่าที่ 2:
นั่งเหยียดขา โน้มตัวไปด้านหน้า
ระยะเวลาที่แนะนำ:
ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีอาการปวด
บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้ยืดเหยียด ได้แก่
- หลังส่วนกลาง
- หลังส่วนล่าง
- แฮมสตริง
- ขาด้านหลัง
- น่อง
ท่าที่ 3:
นอนหงายงอเข่าชิดออก
ระยะเวลาที่แนะนำ:
ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีอาการปวด
บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้ยืดเหยียด ได้แก่
- หลังส่วนล่าง
- ต้นขาด้านหลัง
ท่าที่ 4:
ยืนก้มตัว มือแตะปลายเท้า
ระยะเวลาที่แนะนำ:
ทำค้างไว้ 10-15 วินาที ทำ 3-5 ครั้ง วันละ 2 ครั้ง เช้า-เย็น หรือเมื่อมีอาการปวด
บริเวณกล้ามเนื้อที่ได้ยืดเหยียด ได้แก่
- หลังส่วนล่าง
- แฮมสตริง
- ขาด้านหลัง
โดยทำอย่างต่อเนื่อง จนรู้สึกอาการปวดดีขึ้นให้ทำการเพิ่มระยะเวลาจาก 10 วินาที เป็น 15 วินาที และจำนวนรอบ โดยการเพิ่มจำนวนรอบมากขึ้น อย่างค่อยเป็นค่อยไป เริ่มจากที่ 3 รอบ จนสูงสุดที่ 5 รอบ
แหล่งอ้างอิง
- Bob Anderson Technique
- Play Store: ERTIGO Application
- App Store: ERTIGO Application