คนทำงานออฟฟิศมักได้ยินคำศัพท์ฮิตนี้บ่อย ๆ ในกลุ่มเพื่อนร่วมงาน “ออฟฟิศซินโดรม” เมื่อวานเย็นพี่ไปหาคุณหมอมาเพราะปวดเมื่อยคอตึง จนปวดศีรษะ ปรากฎว่าเป็นออฟฟิศซินโดรม พี่ก็เป็นหรอพี่ ล่าสุดเพื่อนผมก็มาเม้ามอยให้ฟังว่าไปทำกายภาพมา บริเวณคอบ่าไหล่ เห็นบอกว่าก็เป็นออฟฟิศซินโดรมเหมือนกัน โอ้โห คนใกล้ตัวทั้งนั้น ผมก็เริ่มเมื่อย ๆ ตึง ๆ คงต้องยืดเหยียดบ้างแล้ว เพราะการป้องกันย่อมที่กว่าการรักษา อย่างไรก็ตามคนทำงาน นั่งทำงานอิริยาบถซ้ำ ๆ เดิม ๆ เป็นเวลานาน ควรมีความรู้เกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมเพื่อจะได้รับมือได้อย่างทันท่วงที ปล่อยไว้นาน ๆ ปัญหายืดยาวแน่นอน วันนี้จึงขอนำเสนอเรื่องราวเกี่ยวกับออฟฟิศซินโดรมม้วนเดียวกระชับครบถ้วนกระบวนความ ออฟฟิศซินโดรมคืออะไร สาเหตุและอาการของออฟฟิศซินโดรม ตลอดจนวิธีการป้องกันออฟฟิศซินโดรม และแถมเครื่องมือดีๆ สำหรับป้องกันออฟฟิศซินโดรม มาเริ่มกันเลย
ออฟฟิศซินโดรม (Office Syndrome) คืออะไร?
คำว่า “ออฟฟิศซินโดรม” ถือกำเนิดขึ้นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2512 โดยนายแพทย์จุนโกะ ซากากิบาระ แพทย์ชาวญี่ปุ่น อธิบายว่า เป็นโรคทางร่างกาย อารมณ์ และจิตใจ ที่เกิดจากการนั่งทำงานที่โต๊ะทำงานเป็นเวลานาน มีสาเหตุมาจากการใช้กล้ามเนื้อเดิมซ้ำ ๆ เป็นเวลานาน ทำให้เกิดอาการปวดกล้ามเนื้อเรื้อรังที่บริเวณคอ บ่า ไหล่ เอว และข้อมือ จนมีอาการอักเสบของกล้ามเนื้อ หรืออาจมีอาการรุนแรงถึงขั้นมีอาการชาที่บริเวณมือหรือแขน และมีลักษณะอาการต่างๆ เช่น เหนื่อยล้า ปวดศีรษะ วิงเวียน หัวใจสั่น นอนไม่หลับ ซึมเศร้า หรือวิตกกังวล เป็นต้น
นอกจากนี้ยัง ความเครียดที่เกิดจากการทำงานและสภาพแวดล้อมของการทำงานที่ไม่เหมาะสมก็เป็นหนึ่งในปัจจัยเสริมด้วย โดยอาการออฟฟิศซินโดรมมักเกิดขึ้นกับกลุ่มของพนักงานบริษัทที่มีพฤติกรรมเสี่ยงในการทำงาน หรือประกอบกับปัญหาด้านกระดูกและกล้ามเนื้อที่มีอยู่เดิมด้วย
สาเหตุของการเกิดอาการออฟฟิศซินโดรม
- การทำงานติดต่อกันเป็นเวลานานเกินไป จนเป็นสาเหตุให้เกิดอาการกล้ามเนื้อบาดเจ็บเฉียบพลัน
- กล้ามเนื้อเกิดการเกร็งตัว เลือดไม่ไหลเวียน
- สภาพแวดล้อมหรืออุปกรณ์ในการทำงานที่ไม่เหมาะสม เช่น โต๊ะหรือเก้าอี้ที่ทำงานสูงหรือต่ำจนเกินไป
- ความเครียดจากการทำงาน การพักผ่อนไม่เพียงพอ แสงสว่างที่ทำงานไม่เพียงพอ เป็นต้น
อาการของออฟฟิศซินโดรมมีอะไรบ้าง?
- ปวดกล้ามเนื้อส่วนใดส่วนหนึ่งของร่างกาย เช่น คอ บ่า สะบัก ไหล่ มักมีอาการปวดเป็นบริเวณกว้าง ไม่สามารถระบุตำแหน่งได้ชัดเจน อาจมีอาการปวดร้าวไปบริเวณใกล้เคียง อาการปวดมีตั้งแต่ปวดเพียงเล็กน้อยจนถึงปวดอย่างรุนแรง
- อาการของระบบประสาทอัตโนมัติ เช่น ชา วูบ เย็น ขนลุก เหงื่อออก ตามบริเวณที่มีอาการปวดร้าว ถ้าเป็นบริเวณคอ อาจมีมึน งง หูอื้อ ตาพร่า
- อาการทางระบบประสาทที่ถูกกดทับ เช่น อาการชาบริเวณแขนและมือ อ่อนแรง หากมีการกดทับเส้นประสาทนานจนเกินไป
การป้องกันอาการออฟฟิศซินโดรม
- ปรับพฤติกรรมการทำงานของตนเอง เช่น การปรับท่านั่งให้เหมาะสม ให้นั่งตัวตรง ไม่นั่งไหล่ห่อ หลังงอ และหากนั่งท่าเดิมติดต่อกันเป็นเวลานาน ควรมีการยืดเหยียดกล้ามเนื้อหรือเปลี่ยนอิริยาบถทุกๆ 1 ชั่วโมง
- จัดสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมสำหรับการทำงาน เช่น การมีแสงสว่างที่เพียงพอ ปรับคาวมสูงของโต๊ะ เก้าอี้ให้เหมาะสม ปรับหน้าจอคอมพิวเตอร์ให้อยู่ในระดับสายตา
- ออกกำลังกายด้วยท่าบริหารที่เหมาะสม เช่น การยืดเหยียดกล้ามเนื้อ การออกกำลังกายเพื่อเสริมความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ
ยืดเหยียดพร้อมกับ ERTIGO Application
ด้วยแอปพลิเคชัน ERTIGO ถูกพัฒนาขึ้นมาให้ตอบโจทย์การแก้ไขและป้องกันออฟฟิศซินโดรมของคนทำงานในลักษณะอาชีพต่าง ๆ โดยเฉพาะอย่างยิ่งคนทำงานออฟฟิศ ชาวนั่งหน้าคอมพิวเตอร์ แอปพลิเคชัน ERTIGO ใช้การแนะนำท่ากายบริหารในรูปแบบแอนิเมชันซึ่งได้รับออกแบบดูแลโดยผู้เชี่ยวชาญจากหลักการตามสรีระศาสตร์ ขอแนะนำท่ากายบริหารตามกลุ่มอาชีพ ผู้ใช้งานสามารถทำตามท่ากายบริหารบนแอปพลิเคชันในกลุ่มอาชีพ เช่น คนทำงานออฟฟิศ สามารถใช้เซตพนักงานออฟฟิศ เซตนั่งนาน เซตผู้พิมพ์งานเยอะ เป็นต้น ซึ่งแต่ละเซตท่ากายบริหารจะเน้นไปที่กล้ามเนื้อที่ใช้งานอย่างต่อเนื่องให้ได้ทำการยืดเหยียดเพื่อคลายกล้ามเนื้อลดอาการปวดเมื่อย เป็นการป้องกันการเกิดออฟฟิศซินโดรม หรือหากผู้ใช้งานที่เริ่มมีอาการของออฟฟิศซินโดรมแล้วนั้นการใช้แอปพลิเคชัน ERTIGO จะสามารถช่วยให้ออฟฟิศซินโดรมที่เป็นอยู่ดีขึ้นได้และหลีกเลี่ยงการเป็นออฟฟิศซินโดรมแบบเรื้อรัง
ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้ฟรีที่ ERTIGO Application และหากสงสัยอยากปรึกษาผู้เชี่ยวชาญ หรือต้องการแผนการทำกายบริหารเฉพาะบุคคลสามารถสอบถามผู้เชี่ยวชาญผ่านแอปพลิเคชันไลน์ได้ที่ LINE ID: @ertigo.official