มือชา ปวดข้อมือสามารถเกิดจาก Carpal Tunnel Syndrome พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท
พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท หรือที่เรียกกันในภาษาอังกฤษว่า Carpal Tunnel Syndrome (CTS) เกิดจากการกดทับเส้นประสาทมีเดียนที่ผ่านข้อมือภายในช่องพังผืด สาเหตุที่พบได้บ่อยคือการใช้มือซ้ำ ๆ เช่น การพิมพ์งาน หรือการเกิดอาการอักเสบจากโรคอื่น ๆ เช่น ข้ออักเสบหรือเบาหวาน อาการที่พบมักจะมีอาการชานิ้วมือ อ่อนแรง และรู้สึกเสียวซ่าบริเวณนิ้วหัวแม่มือ นิ้วชี้ และนิ้วกลาง หากไม่ได้รับการรักษา อาจทำให้เกิดความเสียหายของเส้นประสาทได้ ดังนั้นการสังเกตอาการเริ่มต้นและการรักษาที่เหมาะสมจึงมีความสำคัญอย่างยิ่ง
ลักษณะอาการพังผืดที่มือกดทับเส้นประสาทที่พบ
- มีอาการปวดข้อมือและชาตามนิ้ว
- ปวดข้อมือ ปวดมากขึ้นเมื่อนั่งพิมพ์งานหรือออกแรงกดที่ข้อมือ
- ชาที่นิ้วโป้ง นิ้วชี้ นิ้วกลาง และบางส่วนของนิ้วนาง
- เมื่อยมือง่าย มืออ่อนแรง
วิธีทดสอบ Carpal Tunnel Syndrome พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท
สามารถทดสอบด้วยตัวเองโดยการงอข้อมือเข้าหากัน ค้างไว้เป็นเวลา 1 นาที หากเกิดอาการชา แสดงว่ามีความเสี่ยงที่จะเป็น Carpal Tunnel Syndrome หรือ พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท เมื่อทำการทดสอบดูจะทำให้รู้จักร่างกายของตัวเองมากขึ้น หากรู้แล้วรีบแก้ไข ทำการรักษา อาการนี้ก็จะดีขึ้นอย่างเห็นผลภายใน 2 สัปดาห์
รักษา Carpal Tunnel Syndrome พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท เบื้องต้น
เมื่อลองทดสอบดูแบบพบว่าคุณมีความเสี่ยงที่จะเป็น Carpal Tunnel Syndrome พังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท คุณสามารถบรรเทาอาการเบื้องต้นด้วยตัวเองได้ ผ่านวิธีดังต่อไปนี้
1. เมื่อมี พังผืดที่มือ แช่น้ำอุ่น หรือประคบอุ่น
15-20 นาที อย่างน้อย 2 ครั้งคือ ช่วงเช้า-ช่วงก่อนนอน หากสะดวกสามารถเพิ่มจำนวนครั้งในการประคบอุ่นหรือแช่น้ำอุ่น โดยความร้อนจะช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดในบริเวณที่ถูกประคบเพื่อส่งเสริมการฟื้นตัว แต่ถ้ามีอาการบาดเจ็บในบริเวณที่เป็นพังผืดร่วมด้วยควรหลีกเลี่ยงการประคบร้อน
2. ทายาลดการอักเสบของกล้ามเนื้อ
ใช้ได้ทั้งสูตรร้อน และสูตรเย็น โดยไม่ควรทาเกิน 3 -4 ครั้งต่อวันทั้งนี้ขึ้นอยู่กับยี่ห้อของยาด้วย
3. ยืดกล้ามเนื้อ
ยืดกล้ามเนื้อกลุ่มด้านหน้าแขน ยืดแค่รู้สึกตึง ห้ามให้รู้สึกเจ็บหรือชา ซึ่งจะแนะนำท่ากายบริหารที่เหมาะสมในส่วนต่อไป
4. พักการใช้งานมือข้างที่มีอาการ
สามารถทำควบคู่ไปกับการใส่ตัวช่วย support ข้อมือตอนทำงาน หรือหากมีอาการปวดมากสามารถใส่ตอนนอนได้ อย่างไรก็ตามควรคำนึงถึงความรัดแน่นของอุปกรณ์ อย่ารัดแน่นจนเกินไปอาจส่งผลต่อการไหลเวียดเลือดบริเวณมือ ข้อมือ และแขนได้
5. ปรับบริเวณทำงาน
จัดระยะการวางอุปกรณ์ที่เหมาะสม โดยเฉพาะคนที่ต้องทำงานหน้าคอม ควรมีที่รองสำหรับ Support ข้อมือ เพื่อลดแรงกดที่ข้อมือ และป้องกันไม่ให้กระตุ้นอาการปวดข้อมือ
ท่าบริหาร ยืดเหยียดกล้ามเนื้อ รักษา Carpal Tunnel Syndrome พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท เบื้องต้น
ท่ากายบริหารที่นำเสนอวันนี้เหมาะกับผู้ที่ปวดข้อมือ และมีอาการชาร้าว (Carpal Tunnel Syndrome) การยืดกล้ามเนื้อ จะเน้นในกลุ่มด้านหน้าแขน ระหว่างการยืดควรจับความรู้สึกไปด้วยยืดแค่รู้สึกตึงเท่านั้น ห้ามให้รู้สึกเจ็บหรือชา จะก่อให้เกิดการบาดเจ็บของกล้ามเนื้อที่เพิ่มขึ้นได้ หากอยากดูท่าบริหารเต็มรูปแบบมีรูป Animation บอกอยากชัดเจนสามารถ Download ERTIGO App ของเราได้
1. กำมือ (กำให้แน่น)
ทำ 10 ครั้ง ซ้ำ 3 รอบ (ทำสลับกับท่าแบมือ) กำค้างไว้ 10 – 15 วินาที
2. แบมือ (แบให้สุด)
ทำ 10 ครั้ง ซ้ำ 3 รอบ (ทำสลับกับท่ากำมือ) แบค้างไว้ 10 – 15 วินาที
3. หมุนข้อมือ
หมุนข้อมือ (ประสานมือ-หมุนข้อมือ 360 องศา) ทำ 10 ครั้ง ซ้ำ 3 รอบ ค้างไว้ 10 – 15 นาที
4. กระดกข้อมือขึ้น
ทำ 10 ครั้ง ซ้ำ 3 รอบ (ทำสลับกับท่างอข้อมือลง) ค้างไว้ 10 – 15 นาที
5. กระดกข้อมือลง
ทำ 10 ครั้ง ซ้ำ 3 รอบ (ทำสลับกับท่างอข้อมือขึ้น) ค้างไว้ 10 – 15 นาที
ป้องกัน บรรเทา พังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาท ด้วยท่ากายบริหาร
กายบริหารกับ APP คนไทยที่ได้รับรางวัลระดับโลกเข้าไปในแอปและเลือกท่าบริหารช่วงมือและข้อมือเพื่อทำตามได้เลย
ทำไมวิดีโอการยืดกล้ามเนื้อถึงไม่เพียงพอ?
การดูและทำตามเพียงครั้งเดียวจะไม่ช่วยเปลี่ยนแปลงความยืดหยุ่นของคุณได้อย่างมีนัยสำคัญ เราต้องการวิธีการที่ผสานเข้ากับชีวิตประจำวันได้อย่างราบรื่น เช่น การยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสำหรับการทำงานที่โต๊ะ การออกกำลังกายที่สามารถทำได้บนเครื่องบิน หรือการยืดกล้ามเนื้อเพื่อผ่อนคลายก่อนนอน
ทำไม ERTIGO ถึงเป็นคำตอบ
ERTIGO ช่วยให้คุณใช้ไลฟ์สไตล์ของคุณเพื่อปรับปรุงความยืดหยุ่นและความคล่องตัวของร่างกาย แอนิเมชันของเรามาพร้อมกับคำแนะนำเสียงที่ชัดเจนและได้รับการออกแบบให้เหมาะสมกับชีวิตประจำวันของคุณในหลากหลายด้าน
บทสรุป
พังผืดที่มือกดทับเส้นประสาท หรือ Carpal Tunnel Syndrome เป็นภาวะที่สามารถป้องกันและรักษาได้ด้วยการยืดกล้ามเนื้อที่เหมาะสมและการปรับเปลี่ยนวิธีการทำงานในชีวิตประจำวัน การยืดกล้ามเนื้อข้อมืออย่างสม่ำเสมอไม่เพียงแต่ช่วยลดอาการปวดและความไม่สบาย แต่ยังช่วยเพิ่มการไหลเวียนของเลือดและความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อข้อมือ ซึ่งสามารถช่วยลดแรงกดทับเส้นประสาทและชะลอการเกิดพังผืดข้อมือกดทับเส้นประสาทได้ หากเริ่มรู้สึกถึงอาการของภาวะนี้ การทำความเข้าใจวิธีการยืดกล้ามเนื้อและการป้องกันเพิ่มเติมเป็นสิ่งสำคัญในการดูแลสุขภาพข้อมือของคุณในระยะยาว
แหล่งอ้างอิง
- Bob Anderson Technique
- Play Store: ERTIGO Application
- App Store: ERTIGO Application